ประวัติศาสตร์ของสิงคโปร์ มิได้ถูกบันทึกอย่างชัดเจนและแน่นอนนัก ในช่วงศตวรรษที่ 14 สิงคโปร์อยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรมัชฌาปาหิตแห่งชวา
ต่อมาในต้นศตวรรษที่ 15 ก็อยู่ภายใต้การยึดครองของอาณาจักรสยาม
จนถูกประมุขแห่งมะละกาเข้ามาแย่งชิงไป และเมื่อโปรตุเกสเข้ายึดครองมะละกา
สิงคโปร์ก็กลายเป็นเมืองขึ้นของโปรตุเกสในราวปี ค.ศ. 1498
และต่อมาอยู่ภายใต้อิทธิพลของฮอลันดาในช่วงศตวรรษที่
17สิงคโปร์เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ปลายสุดแหลมมาลายู
เป็นสถานพักสินค้าของพ่อค้าทั่วโลก เดิมชื่อว่า เทมาเส็ก (ทูมาสิค)
มีกษัตริย์ปกครอง ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 17
ได้มีเจ้าผู้ครองนครปาเล็มบังเดินทางแสวงหาดินแดนใหม่เพื่อสร้างเมือง แต่เรือก็อับปางลง
พระองค์ได้ว่ายน้ำขึ้นฝั่ง
แล้วก็เห็นสัตว์ชนิดหนึ่งมีรูปร่างลำตัวสีแดงหัวดำหัวคล้ายสิงโตหน้าอกขาว
พระองค์จึงถามคนติดตามว่า สัตว์ตัวนั้นคืออะไรคนติดตามก็ตอบว่ามันคือ สิงโต
พระองค์จึงเปลี่ยนชื่อเทมาเส็กเสียใหม่ว่า สิงหปุระ ต่อมาสิงหปุระก็ได้ตกเป็นของสุลต่านแห่งมะละกาประเทศแรกที่มายึดสิงคโปร์ไว้ได้คือโปรตุเกส
เมื่อปี ค.ศ. 1511 แล้วก็ถูกชาวดัตช์มาแย่งไป
เมื่ออังกฤษขยายอิทธิพลเข้ามาบริเวณแหลมมลายูในกลางศตวรรษที่ 18 แต่ประมาณปี ค.ศ.
1817 สหราชอาณาจักรได้แข่งขันกับดัตช์ในเรื่องอาณานิคม อังกฤษได้ส่งเซอร์ โทมัส
สแตมฟอร์ด แรฟเฟิลส์ มาสำรวจดินแดนแถบสิงคโปร์
ตอนนั้นสิงคโปร์ยังมีสุลต่านปกครองอยู่ แรฟเฟิลส์ได้ตกลงกับสุลต่านฮุสเซียน
ชาห์ว่า จะตั้งสถานีการค้าของอังกฤษที่นี่
แต่สุดท้ายอังกฤษยึดสิงคโปร์ไว้เป็นเมืองขึ้นได้ และ ก่อตั้งประเทศในปี ค.ศ. 1819
โดยอังกฤษได้ขอเช่าเกาะสิงคโปร์จากจักรวรรดิ์ยะโฮร์ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของฮอลันดา
ในปี 1824 อังกฤษมีสิทธิครอบครองสิงคโปร์ตามข้อตกลงที่ทำกับฮอลันดา ต่อมาในปี ค.ศ.
1826 สิงคโปร์ถูกปกครองภายใต้ระบบสเตรตส์เซ็ตเติลเมนท์ ซึ่งบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษควบคุมดูแลสิงคโปร์
รวมทั้งปีนัง และ มะละกาด้วย ต่อมาในปี ค.ศ. 1857
รัฐบาลอังกฤษได้เข้ามาดูแลระบบนี้เอง ในปี ค.ศ. 1867 สิงคโปร์กลายเป็นอาณานิคม อย่างสมบูรณ์ในฐานะที่เป็นอาณานิคมแบบเอกเทศนั้น
สิงคโปร์มีอำนาจปกครองกิจการภายในของตนเองแต่ไม่มีอำนาจดูแลกิจการทหารและการต่างประเทศ
และยังมีผู้ว่าราชการจากส่วนกลางมาปกครองอยู่ ในสภานิติบัญญัติ นั้น
อังกฤษเริ่มเปิดโอกาสให้ประชาชนเลือกตั้งสมาชิกบางส่วน (6 คน จาก 22 คน) ได้
ซึ่งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาบางส่วนนี้ในปี 1948 พรรคก้าวหน้า ของสิงคโปร์ได้ที่นั่งมากที่สุด
ต่อมาในปี ค.ศ. 1951 สมาชิกสภาที่มาจากการเลือกตั้งถูกเพิ่มเป็น 9 คน ในจำนวน 25
คน และในปี ค.ศ. 1955 ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับแรกสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งมีจำนวน
25 คน ในจำนวน 32 คนต่อมาอังกฤษให้ชาวสิงคโปร์มีอำนาจและมีส่วนร่วมในการปกครองตนเองมากขึ้นในช่วง
10 ปี ก่อนที่สิงคโปร์จะประกาศเป็นสาธารณรัฐนั้น
สิงคโปร์จึงอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาล 3 ชุด คือ รัฐบาลของนายเดวิด มาร์แชล จากปี 1955-1956 รัฐบาลของนายลิม ยิว ฮ๊อค จากปี ค.ศ. 1956-1959 และ รัฐบาลของนาย ลี กวน ยู ซึ่งภายใต้รัฐบาลนี้สิงคโปร์มีอำนาจในการปกครองตนเองอย่างสมบูรณ์แล้ว
และนายลี กวน ยูได้เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนแรกของสิงคโปร์ ต่อมาในช่วงปี
1963-1965 รัฐบาลชุดนี้ก็ได้ตัดสินใจเข้าไปรวมอยู่ในสหพันธรัฐมาลายา
และอยู่ได้เพียง 2 ปีนับจากปี ค.ศ. 1965 เมืองสิงคโปร์ประกาศตนเป็นประเทศเอกราช
มีอำนาจอธิปไตยของตนเอง โดยปกครองในรูปของสาธารณรัฐ
หลังจากนั้นสิงคโปร์อยู่ภายใต้การปกครองของนายกรัฐมนตรีเพียงคนเดียวเป็นเวลาถึง 25
ปี ซึ่งก็คือ นาย ลี กวน ยู ทั้งนี้เป็นเพราะพรรคกิจประชา ซึ่งนาย
ลี เป็นผู้ก่อตั้งแต่ปี ค.ศ. 1961 นั้นมีชัยชนะในการเลือกตั้งเกือบทุกครั้ง
ไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้งทั่วไป หรือการเลือกตั้งซ่อมทศวรรษ 1990
เป็นจุดเริ่มต้นของกรปรับเปลี่ยนการปกครองสิงคโปร์จากผู้นำกลุ่มเก่า เป็นผู้นำรุ่นใหม่ นายโก๊ะ จ๊กตง ได้รับการคัดเลือกจากพรรคกิจประชาและคณะรัฐมนตรี
ให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่สองของสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 1990 นาย ลี กวน
ยู ยังดำรงตำแหน่งอยู่ในรัฐบาลชุดใหม่โดยเป็นรัฐมนตรีอาวุโส และในปี ค.ศ. 1993
สิงคโปร์เริ่มใช้ระบบประธานาธิบดีแบบใหม่
ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนปัจจุบันปี ค.ศ. 2006
ประเทศสิงคโปร์ได้มีการเลือกตั้งทั่วไปเพื่อเลือกผู้นำคนใหม่และทีม
เพื่อร่วมกันพัฒนาประเทศต่อไป แต่อย่างไรก็ดี พรรคกิจประชาก็ได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้นเหมือนอย่างเดิม
โดยพรรค PAP ได้รับที่นั่งในฝ่ายรัฐบาล 82
ที่นั่งจาก 84 ที่นั่ง ซึ่งเท่ากับสมัยนายโก๊ะ จ๊กตงได้รับในปี พ.ศ. 2544
แต่ได้คะแนนเสียงลดลงจากสมัยแรกที่ได้ 75.3 เป็น66.6 เปอร์เซ็นต์
ซึ่งรัฐบาลนี้ที่อยู่ภายใต้การบริหารงานของนาย ลี เซียน ลุง
สมัยที่สองซึ่งรัฐบาลจะมีนโยบายผลักดันในเรื่องปัญหาคนยากไร้
ผู้สูงอายุและคนว่างงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่นาย ลี เซียน
ลุงจะได้รับการเลือกตั้งในครั้งนี้นั้น
เขาได้เน้นโยบายแบ่งปันรายได้ผนวกกับความอ่อนแอและแตกแยกของพรรคฝ่ายค้าน ทำให้พรรค
PAP ได้ครองอำนาจสืบทอดมาเป็นเวลา 4
ทศวรรษ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น